วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พี พี ฟาร์ม ผู้ผลิตและจำหน่ายลูกกุ้งพีคุณภาพ



พี พี ฟาร์ม คือผู้ผลิตและจำหน่ายลูกกุ้งพีคุณภาพที่อยู่ในธุรกิจลูกกุ้งมากว่า 20 ปี ปัจจุบันเรามีกำลังการผลิตลูกกุ้งครั้งละ 50 ล้านตัว ฟาร์มของเราเป็นฟาร์มมาตรฐานที่สามารถผลิตได้ทั้งลูกกุ้งขาววานาไมและลูกกุ้งกุลาดำ 


ปัจจุบันฟาร์มตั้งอยู่เลขที่ 66 ม.8 ซอยบ้านท่าไข่ 5 ต.ท่าสะอ้าน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทราสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิมพา อินทราเวียง 093-542-8982 หรือ pimpa_in@hotmail.com
facebook : 
http://on.fb.me/1lOBk6n


"P.P. Farm" has been in hatchery business for more than 20 years. Our current capacity is 50 million baby shrimp per time. We can supply both baby shrimp for Vannamei and Black Tiger. Our farm is reputable for qualified and healthy baby shrimp as we do business on long term.  
 For more information please contact:
Mrs.Pimpa Intraweing (66)93-542-8982
e-mail: pimpa_in@hotmail.com
facebook : http://on.fb.me/1lOBk6n



วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทีมวิจัยไทย รักษา EMS ในกุ้งขาวสำเร็จครั้งแรกในเอเชีย



ทีมวิจัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบความสำเร็จครั้งแรกในเอเชีย โดยนำสารกลุ่มโพลีฟีนอลมารักษาโรคตายด่วนในกุ้งขาว หวังลดความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารของไทย
  
ปัญหาโรคตายด่วนในกุ้งขาว  สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับผลผลิตกุ้งขาวของประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่าผลผลิตกุ้งรวมตลอดทั้งปีนี้ จะมีประมาณ 2 แสน 5หมื่น ถึง 2แสน 7หมื่นตัน ลดลงกว่าปีที่แล้วกว่าร้อยละ  50 ซึ่งนอกจากจะมีผลกระทบต่อการส่งออกแล้ว ก็อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านอาหารของไทยด้วย
  
ล่าสุดหัวหน้าทีมนักวิจัยโรคตายด่วนในกุ้งขาว คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการนำสารกลุ่มโพลีฟีนอล มารักษาโรคตายด่วยในกุ้งขาว หรือ EMS เนื่องจากสามารถควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย วิบิโอ ในกุ้งขาวที่ป่วยได้ และมีฤทธิ์เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ 
  
ซึ่งช่วยให้เซลล์ของตับและตับอ่อนของกุ้งแข็งแรง  และฟื้นฟูจากการได้รับสารพิษจากแบคทีเรียได้ดีขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงกุ้งในบ่อที่ป่วยเป็นโรคตายด่วนต่อไปได้ และกุ้งสามารถเติบโตในขนาดที่ตลาดต้องการ เป็นการบรรเทาความเดือนร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
  
สารกลุ่มโพลีฟีนอล เป็นสารสกัดจากพืชธรรมชาติ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสารกลุ่มนี้ ประกอบไปด้วยสารต่างๆ มากกว่า 8 พันชนิด และมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป 
  
โดยเกษตรกรบางรายอาจใช้น้ำที่สกัดจากใบหูกวาง หรือใบฝรั่งแทนได้ แต่ผลการใช้ที่อาจมีผลไม่แน่นอน
  
ปัจจุบันไทยมีการส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์  เฉลี่ยปีละ 425,000 ตัน มูลค่า 150,000 ล้านบาท สามารถส่งออกไปสหรัฐอเมริกา  เฉลี่ยปีละ 177,000 ตัน มูลค่า 50,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 40 ของการส่งออกทั้งหมด

<iframe width="640" height="360" frameborder="0" scrolling="no" src="http://www.voicetv.co.th/content/embed?id=85121" ></iframe>

ขอบคุณที่มา : http://news.voicetv.co.th/technology/85121.html

http://on.fb.me/1dL3vO7

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการกุ้งของบ่อเพาะ


ที่หน้าเพจของ พี.พี ฟาร์มมีคนถามคำถามเกี่ยวกับการจัดการลูกกุ้งของเราซึ่งเป็นคำถามที่น่าสนใจ จึงอยากนำมาให้อ่านในบล็อกด้วยค่ะ

เรื่องการควบคุมคุณภาพของพีพีฟาร์มเราแบ่งเป็น 4 ส่วน ซึ่งใช้เป็นปัจจัยการผลิตลูกกุ้งคุณภาพ 

1. แม่กุ้งคุณภาพ
พีพี ฟาร์มลือกใช้แม่กุ้งคุณภาพจากโคนาเบย์..ซึ่งเป็นแม่พันธุ์ที่มีใบรับรองว่าปลอดเชื้อ (วิธีการนำเข้าของเรา เราไม่ใช่ผู้นำเข้าโดยตรงจึงยังไม่มีรายชื่อเป็นฟาร์มผู้นำเข้า แต่สามารถยินยันได้ด้วยเอกสารรับรองของโคนาเบย์ที่ให้แก่คู่ค้าของเรา)

2.น้ำคุณภาพ 
พีพีฟาร์ม ใช้น้ำที่สะอาดจากแหล่งที่ใช้มานาน 

3.อาหารคุณภาพ
เราเลือกใช้อาหารคุณภาพที่ปลอดภัยต่อลูกกุ้ง

4.การจัดการฟาร์มที่มีสุขอนามัย 

ทั้ง 4 ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยในการสรส้างลูกกุ้งคุณภาพของเราซึ่งคงไม่ต่างจากฟาร์มอื่นๆ ที่ต้องการผลิตลูกกุ้งคุณภาพดี แต่เหนือสิ่งอื่นใด พีพีฟาร์มมีคุณพิมพา ซึ่งเป็นเจ้าของฟาร์มกุ้งผู้มีประสบการณ์การทำกุ้งมายาวนานเป็นผู้ควบคุมการผลิตด้วยตัวเองในทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นเหตุผลให้เราสามารถผลิตกุ้งได้ในปริมาณที่จำกัด เพื่อการดูแลที่ทั่วถึง


สำหรับคำถามที่คุณถามไว้ขอตอบเพิ่มเติมอย่างนี้ค่ะ


1. เราทราบอย่างไรว่าน้ำมีคุณภาพ 

สำหรับพีพีฟาร์ม น้ำที่มีคุณภาพไม่ใช่น้ำที่ปลอดเฃื้อ 100 % อย่างน้ำประปา แต่เป็นน้ำที่มี ค่า pH ความเค็ม และค่าอัลคาไลน์ รวมทั้งแร่ธาตุที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง ซึ่งเราเทสด้วยประสบการณ์ 

2 เราทราบอย่างไรว่าอาหารมีคุณภาพ 
อาหารที่เราเลือกใช้เป็นอาหารสำเร็จรูปเพื่อเลี่ยงการปนเปื้อนเชื้อบางชนิด เป้นอาหารที่มีสารอาหารบำรุงตับกุ้งซึ่งจะเสริมสร้างความแข็งแรงให้ลูกกุ้ง

3 เราทราบอย่างไรว่า การจัดการมีคุณภาพ 
เรามีการตรวจคุณภาพน้ำ และตรวจสุขภาพลูกกุ้งในบ่ออย่างสม่ำเสมอ
และกำลังวางแผนที่จะผลิตลูกกุ้งในระบบอินทรีย์ (อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล และการวิเคราะความเสี่ยง)

5เราทราบอย่างไรว่าลูกกุ้งที่ได้มีคุณภาพ 
ต้องถามว่าลูกกุ้งคุณภาพ..ความหมายของคุณภาพของคุณคืออะไร ถ้าคำว่าคุณภาพของคุณคือลูกกุ้งต้องรอดตาย 100% ก็ต้องบอกว่าลูกกุ้งของพีพีฟาร์มยังไม่มีคุณภาพตามความหมายของคุณค่ะ แต่ถ้าบอกว่าลูกกุ้งคุณภาพคือลูกกุ้งที่มีสุขภาพดี ตัวโต เสมอ ไม่มีระยาง ว่ายน้ำดี กินอาหารเก่ง แข็งแรง อดทนต่อการทดสอบ พีพีฟาร์มเรามีลูกกุ้งคุณภาพให้คุณแน่นอนค่ะ 

6เราทราบอย่างไรว่าใช้แม่กุ้งที่มาจากเอกสารรับรอง 
สามารถมาเยี่ยมชมได้ค่ะ 

7เราทราบอย่างไรว่าแต่ละขั้นตอนมีคุณภาพทุกครั้ง
เรามีขั้นตอนการเลี้ยงที่ชัดเจน (ใช้ระบบเดียวกับ ISO9000 เพียงแต่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียน) คนทำลูกกุ้งทุกคนต้องการผลิตลูกกุ้งคุณภาพดีป้อนให้ลูกค้าบ่อดินอยู่แล้ว ไม่่มีใครอยากให้กุ้งอ่อนแอ หรือแกล้งเลี้ยงให้กุ้งเป็นโรค ดังนั้นเราย่อมใส่ใจในลูกกุ้งของเราอย่างดีที่สุด เพื่อชื่่อเสียงของฟาร์มและเพื่อผลผลิตที่ดีของคนเลี้ยงกุ้งบ่อดิน 

เราใส่ใจลูกค้าเพราะในระบบการเลี้ยงกุ้งของคนตัวเล็กๆ ที่ไม่ได้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สามารถทำกุ้งเองได้ทั้งระบบ บ่อเพาะก็เป็นเหมือนหุ่้นส่วนกับบ่อดิน เพียงแต่เรามีความถนัดที่ต่างกันถ้าบ่อดินอยู่ไม่ได้ บ่อเพาะจะอยู่ได้อย่างไร 

ทั้งหมดทั้งมวลนี้มันอยู่ที่ความเชื่อใจและเอาใจใส่กันค่ะ แต่ถ้าจะให้ตอบตามวิชาการ ก็อ่านได้จากที่นี่เลยค่ะ http://www.fisheries.go.th/train-gr/002/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%20%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B5.pdf

ขอบคุณมากค่ะ ^^

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรมประมงชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD)

กรมประมงขอชี้แจงรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมีการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับการออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD)  และขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการห้องเย็น ดังนี้

1. ขอความร่วมมือผู้ประกอบการห้องเย็นทุกแห่ง เรียกขอหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD) จากเกษตรกรในวันที่เกษตรกรนำผลผลิตสัตว์น้ำมาจำหน่ายทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายเพื่อบริโภคภายในประเทศ หรือจำหน่ายเพื่อการส่งออก เพื่อให้เกษตรกรเห็นถึงความสำคัญของหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD) และผู้บริโภคภายในประเทศสามารถบริโภคผลผลิตสัตว์น้ำที่ปลอดภัยได้มาตรฐานเช่นเดียวกับผู้บริโภคในต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยป้องกันการออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำย้อนหลังซึ่งผิดต่อระเบียบกรมประมงว่าด้วยการออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ พ.ศ. 2553
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ผู้ออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำทั้งหน่วยงานของกรมประมงและองค์กรเอกชนที่ได้รับการประกาศรับรองฯ จะไม่แก้ไขวันที่จับหรือออกวันที่จับย้อนหลังจากวันที่ออกหนังสือกำกับฯ เนื่องจากเกษตรกรสามารถยื่นขอออกหนังสือกำกับฯ ได้ล่วงหน้าก่อนวันจับสัตว์น้ำ 5 วัน โดยวันสุดท้ายที่ออกหนังสือกำกับฯ คือวันที่จับสัตว์น้ำเท่านั้น ยกเว้น กรณีเกษตรกรจับกุ้งตรงกับวันหยุดราชการ/วันหยุดนักขัตฤกษ์ เกษตรกรสามารถยื่นขอออกหนังสือกำกับฯ ได้ในวันทำการวันแรกหลังจากวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
2. สำหรับข้อมูลน้ำหนักที่ปรากฏในส่วนที่ 1 ของหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD) ระบุว่า “ปริมาณที่จับรวมประมาณ.........กก.” ซึ่งมีเป็นค่าประมาณการ โดยน้ำหนักกุ้งที่เกษตรกรขายจริงให้แก่ผู้ประกอบการห้องเย็นจะปรากฏอยู่ในส่วนที่ 2 และมีค่าไม่เกิน 10% ของน้ำหนักในส่วนที่ 1 อีกทั้ง การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เกษตรกรจะถูกคำนวณจากปริมาณน้ำหนักซื้อขายจริงในส่วนที่ 2 ดังนั้น หากปริมาณน้ำหนักจริง ที่ระบุในส่วนที่ 2 ของหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (MD) ไม่ตรงกับส่วนที่ 1 และมีค่าน้ำหนักอยู่ในช่วง +10% ของปริมาณน้ำหนักรวมในส่วนที่ 1 ทางเจ้าหน้าที่ผู้ออกหนังสือกำกับฯ จะไม่ดำเนินการแก้ไขตัวเลขในส่วนที่ 1 เพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเรียกร้อง อียู ยืดสิทธิพิเศษ จีเอสพี แก้วิกฤตกุ้งไทย

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเรียกร้อง อียู ยืดสิทธิพิเศษ จีเอสพี แก้วิกฤตกุ้งไทย


ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศรุดยื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เรียกร้องให้ อียู พิจารณายืดระยะเวลาในการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ออกไป เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรหลังประสบปัญหาโรคกุ้งตายด่วนตั้งแต่ปลายปีที่แล้วทำให้ผลผลิตเสียหายกว่า 50%
นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวภายหลังนำกลุ่มเกษตรกรเข้ายื่นหนังสือต่อฑูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยวานนี้ ว่า การเดินทางมาของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในครั้งนี้ ตั้งใจร่วมกันมายื่นหนังสือให้กับทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเพื่อเรียกร้องให้สหภาพยุโรปคงสิทธิจีเอสพีสินค้ากุ้งไทยต่อไป สหภาพยุโรปประกาศตัดสิทธิGSP สินค้าผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูป รวมทั้งสินค้ากุ้ง ไปตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2555 ซึ่งจะทำให้สินค้ากุ้งแปรรูปจากไทยถูกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 20% ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557  ขณะที่ประเทศส่งอกคู่แข่งของไทยที่ได้รับสิทธิ เสียภาษีนำเข้าที่ 7%
สำหรับตัวแทนกลุ่มเกษตรกรที่ร่วมเดินทางมายื่นหนังสือให้กับ อียู เมื่อวานนี้ประกอบด้วย สมาคม/ชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จากจังหวัดต่างๆ เช่น สุราษฎร์ธานี จันทบุรี กระบี่ ตรัง สงขลา ปัตตานี และสตูล, สมาคมกุ้งตะวันออกไทย
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมกุ้งไทยต้องประสบปัญหาโรคระบาดกุ้งตายด่วน หรือ อีเอ็มเอส (Early Mortality Sysdrome) ตั้งแต่ปลายปี 2555ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งไทยลดลงประมาณร้อยละ 50 โดยคาดว่าผลผลิตกุ้งในปี 2556 จะอยู่ที่ประมาณ 250,000 ตัน จากภาวะปกติจะมีผลผลิตประมาณ 500,000-550,000 ตัน อย่างไรก็ตาม กรมประมงร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้พยายามดำเนินการแก้ปัญหาอย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะสามารถกลับมามีผลผลิตในระดับเดิมได้ในปี 2557
          “เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทยประสบปัญหาโรค อีเอ็มเอส ระบาดในทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาหนักของอุตสาหกรรมและเกษตรกร หากโดนตัดภาษีพิเศษจีเอสพีอีก ก็จะเป็นการซ้ำเติมอุตสาหกรรมของไทย จึงอยากให้อียูคงสิทธิพิเศษดังกล่าวไว้อีกระยะ ในระหว่างที่อุตสาหกรรมกำลังพยายามฟื้นตัว” นายสมศักดิ์ ย้ำ
สหภาพยุโรปเคยให้คืนสิทธิพิเศษจีเอสพีให้กับสินค้ากุ้งไทย เมื่อครั้งเกิดภัยพิบัติซึนามิเมื่อปี 2547เนื่องจากเกษตรกรไทยและพื้นที่เลี้ยงกุ้งได้รับความเสียหายเกือบหมด ประกอบกับอุตสาหกรรมกุ้งของไทยถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ อาจทำให้อุตสาหกรรมนี้ล่มสลาย และจะกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้ถึง 1.5 ล้านคน นายสมศักดิ์ กล่าว    
กรมศุลกากร รายงานว่า การส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรป เดือน มกราคม-พฤษภาคม2556ปริมาณ 12,548ตัน มูลค่า3,696ล้านบาท  เมื่อเทียบกับปี 2555 ในช่วงเวลาเดียวกัน ลดลงร้อยละ 38 โดยปริมาณ และ ลดลงร้อยละ 34โดยมูลค่า  สืบเนื่องจากผลผลิตที่ลดลง ขณะที่มีรายงานใน Eurostat ว่า ปี 2555ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปนำเข้ากุ้ง ทั้งหมด  704,162 ตัน  ขณะที่นำเข้ากุ้งจากไทย 50,021 ตัน
นายอันโตนิโอ้ เบอเรนเจอร์, หัวหน้าคณะผู้แทนการค้าและเศรษฐกิจ สำนักงานคณะผู้แทนการค้าสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย  ในฐานะตัวแทนฑูตอียู เป็นผู้ออกมารับหนังสือเรียกร้องดังกล่าว กล่าวว่า ทางออกที่ดีสุดขณะนี้คือการที่ประเทศไทยเจรจาการค้าเสรีไทย-อียู เพื่อช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทยในอนาคต

ขอบคุณทีมา: ฐานเศรษฐกิจ online

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภาวะการตายด่วนในกุ้ง


กุ้งขาว สายพันธุ์แวนนาไมด์ ซึ่งมีแหล่งเพาะเลี้ยงที่สำคัญในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยในระดับต้นๆของโลก กำลังเผชิญปัญหาการตายโดยไม่ทราบสาเหตุจำนวนมาก ทั้งที่อยู่ในช่วงวัยเติบโตและมีความแข็งแรง ที่เรียกกันว่า ภาวะการตายด่วนในกุ้ง

ข้อมูลจากเกษตรกร พบว่า ภาวะการตายด่วนในกุ้งขาวเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่จนขณะนี้กรมประมงยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนถึงสาเหตุและการป้องกัน จากการลงพื้นที่ติดตามปัญหานี้ที่ชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง อ.แกลง จ.ระยอง พบว่า สิ่งที่เกษตรกรทำได้ในช่วงนี้ คือ การเฝ้าระวังการตายในบ่อที่ลงทุนไปแล้ว และจำเป็นต้องหยุดเลี้ยงกุ้งไปสักระยะ

ขอบคุณที่มา:
ดูข่าว
http://news.thaipbs.or.th

การเพาะฟักและการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ตามมาตรฐาน จีเอพี

กุ้งขาวแปซิฟิก หรือกุ้งขาวแวนนาไม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Litopenaeus vannamei หรือ Penaeus vannamei ชื่อสามัญPacific white shrimp เป็นกุ้งพื้นเมืองในทวีปอเมริกาใต้ พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งมหาสมุทร แปซิฟิกตะวันออก พบในอุณหภูมิน้ำเฉลี่ยสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส กุ้งชนิดนี้อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่ง จนถึงบริเวณที่มีความลึก 72 เมตร มีรายงานว่าเมื่อเจริญเติบโตสูงสุดจะมีความยาวประมาณ 9 นิ้ว ลักษณะทั่วไปภายนอกบริเวณกรีด้านบนจะหยักและถี่ปลายกรีตรง ไม่งอนขึ้น ฟันกรีด้านบนมี 8 ซี่หยักและด้านล่างมี 2 ซี่ กรีมีความยาวเกินกว่าลูกตาไม่มาก ลำตัวขาวใส ขาสีขาว หางสีแดง บริเวณปลายหางมีสีแดงเข้ม สามารถกินอาหารได้ทั้งกลางน้ำและก้นบ่อโดยจะว่ายเข้าจับอาหารกลางน้ำเป็นส่วนใหญ่ กุ้งขาวเป็นกุ้งที่เลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว วงจรการผลิตพ่อแม่พันธุ์ใช้เวลาเพียง 8 เดือน ทำให้การคัดพันธุ์ใช้ระยะเวลาสั้น และยังสามารถเจริญเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ในบ่อซีเมนต์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์มาเป็นเวลานาน จึงเป็นกุ้งอีกชนิดหนึ่งที่มีความพร้อมในการนำมาพัฒนาในระบบการผลิตกุ้งเพื่อการส่งออกของประเทศไทย


ประเทศไทยได้มีการอนุญาตนำเข้ากุ้งขาวแวนนาไมเข้ามาเลี้ยงอย่างถูกต้องเมื่อปี 2542 ทั้งนี้เพื่อเป็นทางเลือกในการเลี้ยงกุ้งในสภาวะที่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีผลผลิตตกต่ำ ซึ่งเป็นการเสริมศักยภาพและโอกาสทางการตลาดของกุ้งไทยได้อีกทางหนึ่ง กรมประมงเป็นหน่วยงานหลักในการควบคุม ดูแล พัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับกุ้งทะเล ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งตามข้อกำหนดจีเอพีเพื่อผลิตลูกกุ้งทะเลให้มีคุณภาพ ทั้งนี้เพราะลูกกุ้งที่แข็งแรง และมีคุณภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการประกอบกิจการการเลี้ยงกุ้งทะเลต่อไป นอกจากนี้การยกระดับมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลยังทำให้กุ้งไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ด้วยเหตุนี้เจ้าหน้าที่กรมประมงที่ทำงานเกี่ยวข้องต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ในด้านการเพาะฟักและอนุบาลกุ้งขาว เพื่อนำไปถ่ายทอด แนะนำ และแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรผู้ประกอบกิจการ



ขอบคุณที่มา:http://www.gotoknow.org/posts/226562